การขุดเจาะนอกชายฝั่งเป็นกระบวนการสกัดน้ำมันและก๊าซจากแหล่งใต้น้ำ ซึ่งในแต่ละปีก็จะขุดลึกกันลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากการขุดเชื้อเพลิงฟอสซิลในบริเวณชายฝั่งนั้นได้หมดไปแล้ว แต่ความอันตรายมันอยู่ที่ว่า ยิ่งเราขุดลึกลงไปแค่ไหน ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุก็ยิ่งสูงตามขึ้นไปด้วย เพราะว่าบริเวณที่ทำงานอยู่กลางทะเล เต็มไปด้วยคนงานกว่าหลายร้อยชีวิต มีเกิดเหตุเพลิงไหม้จึงเป็นอันตรายมากกว่าบนบกหลายเท่า คนงานไม่สามารถหลบหนีไปไหนได้ นอกจากลงเรือกู้ชีพ ในขณะเดียวกันเมื่อมีผู้ป่วยหนัก หรือบาดเจ็บ จะต้องรอส่งขึ้นเฮลิคอปเตอร์กลับไปยังแผ่นดินใหญ่เท่านั้น ถึงแม้ว่าในแถ่นจะมีห้องพยาบาลแต่ก็มีขีดจำกัดในการรักษาผู้ป่วย และผู้บาดเจ็บได้ จึงทำให้งานบนแท่นขุดเจาะถือว่ามีความเสี่ยงต่อชีวิตสูงมากเลยทีเดียว
กระบวนการขุดเจาะจะต้องใช้หัวขุดเจาะที่มีความยาวเริ่มต้นที่ผิวน้ำและสิ้นสุดที่ 18,000 ฟุตใต้พื้นทะเล พวกมันจะต้องถูกนำมาเปลี่ยนให้พร้อมใช้งานเสมอ แต่บางแท่นก็เลือกที่จะใช้งานต่อไปจนมันพังไปในที่สุด และโอกาสที่เราคาดไม่ถึงก็อาจมาถึง ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้เลยเมื่อทำงานอยู่บนนั้น อีกทั้งยังต้องเผชิญหน้ากับฤดูต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับพายุฝน ที่จะทำให้งานของคนงานเสี่ยงขึ้นไปอีก หัวหน้าคุมงานได้ออกมาเผยความจริงว่าสาเหตุที่แท่นขุดเจาะส่วนใหญ่ไม่สามารถหยุดเหตุการณ์น้ำมันรั่วได้ เพราะพวกเขาไม่เคยที่จะหยุดในความลึกที่กำหนด รวมถึงไม่เตรียมพร้อมรับมือปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
อย่างในแท่นขุดเจาะ Deepwater Horizon ถือเป็นเป็นแท่นขุดเจาะที่ลึกที่สุดในโลก ก่อนที่มันจะระเบิดและจมลงเมื่อวันที่ 20 เมษายน หลังจากที่พวกเขาเจาะลงไปที่ความลึก 35,055 ฟุต (10 กิโลเมตร) หรือลึกกว่า 6 ไมล์ สาเหตุเพราะพวกเขาพยายามขุดเจาะลงไปลึกกว่าที่เคยเป็นเวลากว่า 20 ชั่วโมง ต่อมาก็เกิดเพลิงไหม้อย่างรุนแรงขึ้น จนมีคำกล่าวว่า การขุดเจาะน้ำมันไม่ได้เพียงแค่เสี่ยงชีวิตเราอย่างเดียว แต่อาจสร้างความเสียหายตลอดแนวชายฝั่ง และระบบนิเวศใต้น้ำอีกด้วย แต่ถึงอย่างไรผู้คนก็ยังคงทำงานกันอย่างหนักเพื่อค่าตอบแทนมหาศาลที่มาพร้อมค่าเสี่ยง ราคาเท่าไหร่กันที่คนเราจะเอาชีวิตไปเสี่ยงตายกันได้ สำหรับคนงานธรรมดาบนแท่นขุดเจาะนั้น มีค่าตอบแถน 300 เหรียญต่อวัน หรือประมาณ 47,000 เหรียญต่อปี (1.5 ล้านบาท) แต่สำหรับหัวหน้าคนงานนั้นจะมีเงินตอบแทนที่สูงมากกว่า ถึง 75,000 – 100,000 เหรียญ ( 3.3 ล้านบาท)